รวมสิ่งต้องรู้เกี่ยวกับการคิดค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง
รวมสิ่งต้องรู้เกี่ยวกับการคิดค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง
ความรู้ธุรกิจ
การขนส่ง
รวมสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการคิดค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง ทั้งปัจจัยการคำนวณ ค่าตัวแปรสภาพผิว หลักเกณฑ์ และตัวอย่างการคำนวณ ครบจบในที่เดียว

รวมตารางและหลักเกณฑ์การคำนวณค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง “อิฐและปูน” จาก WeMove

การขนส่งวัสดุและสินค้าก่อสร้าง ส่วนใหญ่จะมีค่าบริการขนส่งที่สูงกว่าการส่งสินค้าประเภทอื่น ๆ เพราะเป็นการขนส่งสินค้าในปริมาณมาก ต้องใช้รถขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ อย่างเช่น รถบรรทุก หรือรถพ่วง และมีค่าตัวแปรสภาพผิวเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้คุณเข้าใจการคิดค่าขนส่งวัสดุก่อสร้างมากขึ้น เรามีสิ่งที่ต้องรู้และหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าขนส่งสินค้าก่อสร้างมาฝากไม่ว่าจะต้องการขนส่ง หิน ดิน ทราย, อิฐ, กระเบื้อง, หลังคา, เหล็กเส้น/โครงเหล็ก, สีทาอาคาร หรือวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ก็สามารถใช้หลักเกณฑ์นี้อ้างอิงได้เลย

รวมสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการคำนวณค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง

การคิดค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง ไม่ได้ดูแค่น้ำหนักของสินค้า หรือระยะทางเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลาย ๆ ปัจจัยที่ต้องนำมาคิดคำนวณร่วมด้วย จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกัน

  1. ปัจจัยในการคำนวณค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง

    ในแต่ละปี กรมบัญชีกลางจะมีการกำหนดตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้างต่อราคาน้ำมันดีเซลอยู่แล้ว โดยจะกำหนดตั้งแต่ขนาดของรถบรรทุก ระยะขนส่ง (กิโลเมตร) และค่าบรรทุก ทั้งแบบ บาท/ตัน และ บาท/ลบ.ม (ลูกบาศก์เมตร) ซึ่งสามารถนำมาใช้อ้างอิงการใช้บริการค่าขนส่งวัสดุ หรือสินค้าก่อสร้างได้ อย่างไรก็ตาม ค่าขนส่งสินค้าก่อสร้างนี้เป็นเพียงการคิดค่าขนส่งเบื้องต้นเท่านั้น ยังมีตัวแปรค่าขนส่งอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ค่าขนส่งสินค้าก่อสร้างเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย นั่นก็คือ “ค่าตัวแปรสภาพผิว”

  2. รายละเอียดของค่าตัวแปรสภาพผิว

    ค่าตัวแปรสภาพผิว คือ ค่าตัวแปรสภาพผิวทางที่รถขนส่งต้องขับผ่าน แบ่งเป็นผิวทางลาดยาง และผิวทางลูกรัง จะแบ่งย่อยออกเป็น 3 ลักษณะภูมิประเทศอีก ได้แก่

    • ที่ราบ หมายถึง ทางที่ไม่มีความลาดชัน

    • ลูกเนิน หมายถึง ทางที่มีความลาดชัน 4% - 8%

    • ภูเขา หมายถึง ทางที่มีความลาดชันมากกว่า 8%

    ซึ่งการคิดค่าตัวแปรสภาพผิวทางจะแตกต่างกันไปในแต่ละขนาดรถบรรทุก ตัวอย่างเช่น

    • รถบรรทุก 6 ล้อ :

      ผิวทางลาดยาง (ที่ราบ 1.00, ลูกเนิน 2.12 และ ภูเขา 2.56) และ ผิวทางลูกรัง (ที่ราบ 1.24, ลูกเนิน 2.36 และ ภูเขา 2.80)

    • รถบรรทุก 10 ล้อ :

      ผิวทางลาดยาง (ที่ราบ 1.00, ลูกเนิน 1.95 และ ภูเขา 2.52) และ ผิวทางลูกรัง (ที่ราบ 1.23, ลูกเนิน 2.18 และ ภูเขา 2.75)

    • รถบรรทุก 10 ล้อ มีลากพ่วง :

      ผิวทางลาดยาง (ที่ราบ 1.00 และ ลูกเนิน 2.13) และ ผิวทางลูกรัง (ที่ราบ 1.20 และลูกเนิน 2.33)

  3. หลักเกณฑ์การคำนวณค่าขนส่งวัสดุก่อสร้างที่นิยมใช้

    สำหรับหลักเกณฑ์ หรือสูตรที่ใช้ในคำนวณค่าขนส่งสินค้าก่อสร้าง จะแบ่งเป็น 5 ข้อ ดังนี้

    1. ระยะทางขนส่ง ซึ่งเป็นที่ราบปกติจากจุดรับส่งถึงจุดส่งสินค้า = L = …………….. กิโลเมตร

    2. ค่าตัวแปรสภาพผิวทางลาดยาง/คอนกรีต

      • ระยะทางราบ …………….. กิโลเมตร X ค่าตัวแปรสภาพผิว = …………….. กิโลเมตร

      • ระยะทางลูกเนิน …………….. กิโลเมตร X ค่าตัวแปรสภาพผิว = …………….. กิโลเมตร

      • ระยะทางภูเขา …………….. กิโลเมตร X ค่าตัวแปรสภาพผิว = …………….. กิโลเมตร

    3. ค่าตัวแปรสภาพผิวทางลูกรัง

      • ระยะทางราบ …………….. กิโลเมตร X ค่าตัวแปรสภาพผิว = …………….. กิโลเมตร

      • ระยะทางลูกเนิน …………….. กิโลเมตร X ค่าตัวแปรสภาพผิว = …………….. กิโลเมตร

      • ระยะทางภูเขา …………….. กิโลเมตร X ค่าตัวแปรสภาพผิว = …………….. กิโลเมตร

      • รวมระยะทาง = D = …………….. กิโลเมตร
    4. ตัวแปรค่าขนส่ง = F = D/L = ……………..

    5. คิดคำนวณค่าขนส่ง = F X ค่าบรรทุกต่อระยะทางขนส่ง หรือ L ซึ่งจะมีทั้งหน่วย บาท/ตัน และ บาท/ลบ.ม ขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุก่อสร้างนั้น ๆ

  4. ตัวอย่างการคำนวณราคาค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง

    เพื่อให้คุณเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น เรามีตัวอย่างการคำนวณระยะทางและค่าขนส่งวัสดุก่อสร้างมาฝาก โดยกรณีนี้ คือ งานก่อสร้างทางฯ ขนส่งวัสดุก่อสร้างด้วยรถบรรทุก 10 ล้อ ระยะทางจากจุดรับวัสดุไปจนถึงจุดส่งวัสดุอยู่ที่ 50 กม. แบ่งเป็น ทางราบลาดยาง 30 กม. ทางลาดยางลูกเนิน 5 กม. ทางลาดยางภูเขา 2 กม. และทางลาดลูกรังราบ 6 กม. และ ทางลูกรังลูกเนิน 7 กม. จะสามารถคิดคำนวณค่าขนส่งได้ดังนี้

    1. ระยะทางขนส่ง ซึ่งเป็นที่ราบปกติจากจุดรับส่งถึงจุดส่งสินค้า = L = 50 กิโลเมตร

    2. ค่าตัวแปรสภาพผิวทางลาดยาง/คอนกรีต

      • ระยะทางราบ 30 กม. X 1.00 = 30 กม.

      • ระยะทางลูกเนิน 5 กม. X 1.95 = 9.75 กม.

      • ระยะทางภูเขา 2 กม. X 2.52 = 5.04 กม.

    3. ค่าตัวแปรสภาพผิวทางลูกรัง

      • ระยะทางราบ 6 กม. X 1.23 = 7.38 กม.

      • ระยะทางลูกเนิน 7 กม. X 2.18 = 15.26 กม.

      • ระยะทางภูเขา 0 กม. X 2.75 = 0 กม.

      • รวมระยะทาง = D = 67.43 กม.

    4. ตัวแปรค่าขนส่ง = F = 67.43/50 = 1.3486

    5. คิดคำนวณค่าขนส่ง

      หากค่าขนส่งจากตารางค่าขนส่งที่ระยะทาง 50 กม. = 114.88 บาท/ลบ.ม.

      ดังนั้นค่าขนส่งสำหรับกรณีนี้ = 1.3486 X 114.88 = 154.93 บาท/ลบ.ม.

นี่เป็นเพียงการคิดค่าขนส่งวัสดุก่อสร้างเบื้องต้นเท่านั้น ยังมีหลายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ อีกมากมายที่อาจส่งให้ค่าขนส่งเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ สำหรับใครที่รู้สึกว่าการคิดค่าขนส่งสินค้า หรือวัสดุก่อสร้างเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเกินไป สามารถใช้บริการขนส่งวัสดุก่อสร้างกับ WeMove ได้เลยที่ https://app.wemove.co.th/ หรือไลน์ @wmshipper เรามีบริการขนส่งเหมาคันที่รองรับการขนส่งวัสดุก่อสร้างทุกชนิด ด้วยรถขนส่งสินค้าทุกขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ พร้อมระบบคำนวณค่าขนส่งสินค้าก่อสร้างทั่วไปที่แม่นยำ เสริมด้วยฟังก์ชันกำหนดราคาขนส่งที่ต้องการเองได้ รับรองว่าใช้บริการขนส่งกับเราแล้วไม่มีผิดหวังอย่างแน่นอน

บทความอื่นๆ

ทั้งหมด
การขนส่ง
การศึกษา
ความรู้ธุรกิจ
ไลฟ์สไตล์
ไม่พบรายการข่าวสาร